ยินดีต้อนรับเข้าสู้เว็บบล็อกรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู (Information and Communication Technology for Teacher )

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

assignment 5

assignment5
1    จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยคำสองคำคือ สารสนเทศ และเทคโนโลยีมาจากภาษาอังกฤษว่า Information Technology ซึ่งก็ประกอบด้วยคำสองคำคือ Information และ Technology ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะเรียกทับศัพท์เป็นคำย่อว่า  ไอที จากคำย่อภาษาอังกฤษ IT (ไพรัช ธัชยพงษ์, 2540: 1)


            ความหมายของสารสนเทศ  (Information)
ไพรัช  ธัชยพงษ์ (2540) กล่าวว่า สารสนเทศ คือ ภาษา ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน มีประโยชน์ในการสื่อความหมายระหว่างคนในชาติเดียวกัน และต่างชาติต่างภาษากัน
พัชรี  เชยจรรยา (2541) ได้ให้ความหมายของคำว่าสารสนเทศว่าคือข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มีการประมวลผลมาแล้ว หรือเก็บรวบรวมไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ถ้อยคำในการพูด การเขียน ภาพเขียน ไมโครฟิล์ม แผ่นดิสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือมีการบันทึกไว้ในสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศบางชนิด ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้ด้วยวิธีหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ
แอนโธนี  เดบอนส์ (Debons, Anthony. 1981) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศไว้ใน 2 นัยด้วยกัน คือ
1. Data Drive หมายถึง ส่วนที่เป็นข้อมูล (data) ได้แก่ เหตุการณ์ สัญลักษณ์ กฎ สูตร
2. Cognitive Driven หมายถึง การรับรู้มีความหมาย (meaning) ของข้อมูลมาเกี่ยวข้อง ได้แก่ สารสนเทศ เมื่อคนเราปรับปรุงสารสนเทศกับประสบการณ์เดิม และหลักฐานบันทึกอื่น ๆ (records experience) นำไปสู่การสร้างเป็นความรู้ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และที่จะช่วยในการตัดสินใจจากเรื่องราว และความรู้ทำให้คนเกิดปัญญา (wisdom)

2   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารหมายถึงอะไร
ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร “Information and Communication Technology” ICT เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร “Information and Communication Technology” หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับ การประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และสืบค้น สารสนเทศเพื่อใช้ ถ่ายทอดและเผยแพร่ข้อมูลในรูปดิจิทัล (Digital Data) ประกอบด้วยเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องความเเม่นยำเเละความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์I ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศC ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การสื่อสารT ย่อมาจากคำว่า Technology คือ การประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย ์
Information ( สารสนเทศ)คำว่า ข้อมูล ( Data) และสารสนเทศ (Information) เป็นคำที่บางคนเข้าใจผิดว่าเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน มักนิยมใช้คู่กันและบางครั้งก็ใช้ทดแทนกัน จนกระทั่งคนทั่วไปคิดว่าทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกัน แต่แท้ที่จริงแล้วคำทั้งสองคำนั้นมีความหมายแตกต่างกัน คือข้อมูล ( Data) คือ ข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายเฉพาะตัว ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ใด ๆ และ ไม่สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้โดยตรงสารสนเทศ ( Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ ซึ่งมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถใช้แทนกันได้Technology ( เทคโนโลยี)คำว่าเทคโนโลยีคือการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ความจริงเกี่ยวธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นเครื่องมือที่ช่วยการประมวลผลข้อมูลให้ได้ซึ่งสารสนเทศนั้นเองข้อมูลที่ ต้องการประมวลผลนี้จากเดิมที่ต้องทำการประมวลผลด้วยมือ อันส่งผลให้ช้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมากยิ่งหากมีข้อมูลที่มีจำนวนสูงมากแล้ว ก็ยิ่งผิดพลาดสูงขึ้นมากด้วย คอมพิวเตอร์มีความสามารถประมวลผลอย่างรวดเร็ว แม่นย่ำ ชัดเจน อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มิใช่ว่าจะประมวลผลได้อย่างที่กล่าวไปแล้วทั้งหมด จริงแล้วมนุษย์เป็นคนสั่งงาน หากมนุษย์สั่งงานผิดพลาดแล้วผลที่ได้จากการประมวลก็จะผิดพลาดตามด้วย นอกจากมนุษย์และคอมพิวเตอร์ยังมี Software ที่เป็นชุดคำสั่งที่เป็นตัวคอยกำกับสั่งการคอมพิวเตอร์อีกที่หนึ่ง
Communication ( การสื่อสาร)Communication หรือการสื่อสาร ถูกเรียกรวมเข้ามาในภายหลัง จากเมื่อก่อนนี้เราจะได้ยินแค่คำว่า IT หรือ Information Technology เท่านั้น ต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย อันเนื่องจากเหตุผลของเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างมากและรวดเร็ว จนสามารถที่จะนำสื่อเข้าไปสื่อสารในเทคโนโลยีนี้ได้ เป็น การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสารองค์ประกอบการสื่อสารการสื่อสารที่เกิดขึ้นมากมาย บ้างก็สำเร็จ บ้างก็เกิดปัญหาไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างประสบความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบครบดังต่อไปนี้
1. หน่วยส่งข้อมูล ( Sending Unit) หรือ ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ( Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน2. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmission Channel) หมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่างๆหรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง3. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit) หรือผู้รับข่าวสาร เป็นจุดหมายปลายทางของข่าวสาร ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ
3   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารเกิดขึ้นได้อย่างไร

 มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่ โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอ
4  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่อย่างไร
 เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี2ด้านคือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น… – - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
5  ระบบปัญญาประดิษฐ์(Artificial  Intelligence : AI )  หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบ การเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ (Laudon & Laudon , 2001)

ประเภทของ AI
AI ครอบคลุมสาขาต่างๆ ดังนี้ (Stairs & Reynolds,1999)
1) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert-Systems) เป็นระบบการให้คำแนะนำในการจัดการปัญหา โดยอาศัยความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่โปรแกรมไว้
2) Neural Networks เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระทำ หรือจำลอง การทำงานของสมองมนุษย์ได้
3) Genetic Algorithms ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสร้างทางเลือก จำนวนมากในการแก้ปัญหา รวมทั้งทางเลือกที่ดีที่สุด
4) การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เป็นการประมวลผลที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและโต้ตอบกับคำสั่ง หรือข้อความที่เป็นภาษา ธรรมชาติของมนุษย์ได้
5) ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยสามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับสถานการณ์แวดล้อมได้
6) ระบบการมองเห็น (Vision Systems) ระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเก็บรักษาและจัดการกับภาษาที่มองเห็น หรือรูปภาพได้ เป็นการนำระบบนี้มาใช้ในการวิเคราะห์รอยนิ้วมือ
7) หุ่นยนต์ (Robotic) การพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกล ให้ทำงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือทำให้เกิด ความเมื่อยล้าแก่มนุษย์


6  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-    เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-    เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
-    เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
-    เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)

1) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second) (Haag et al.,2000:19)

2) ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย

3) ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวด เร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย กัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที

4) ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมี ปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก

5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วย งานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น (Turban et al.,2001)
ประสิทธิผล (Effectiveness)

1) ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้

2) ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วย ทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคมในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความ เชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่

3) ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า / บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับ ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย

4) ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศได้มีการนำมาให้ตลอดทั้งระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

5 ) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life) ระบบสารสนเทศจะต้องได้รับการออกแบบออกมาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความ ต้องการของมนุษย์และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้วย

7  สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)
ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
ความถูกต้อง (accuracy)
ความเชื่อถือได้ (reliability)
การตรวจสอบได้ (verifiability)

รูปแบบ (Format)
ชัดเจน (clarity)
ระดับรายละเอียด (level of detail)
รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
สื่อการนำเสนอ (media)
ความยืดหยุ่น (flexibility)
ประหยัด (economy)

เวลา (Time)
ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
มีระยะเวลา (time period)

กระบวนการ (Process)
ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
การมีส่วนร่วม (participation)
การเชื่อมโยง (connectivity)


8  จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช่ในชีวิตประจำวัน

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น


1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น
                               

1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์

1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์

1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการ ระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
                                      
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของ ธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข เช่น
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยาการรักษาพยาบาล การคิดเงิน รวมทั้งการส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมที่อาจเรียกว่า โทรเวชได้
5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค เช่น ระบบ Mycinของมหาวิทยาลัยสแดนฟอร์ด โดยเริ่มมาใช้ในการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ที่ใช้หลักการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้โดยละเอียดแล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนมนุษย์

                                    


6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมาก ขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
6.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้ เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

                                                    
6.4 การใช้งานในห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานโดยมีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการให้บริการห้องสมุด การนำเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาก
6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์ เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การ ควบคุม การทดลอง
6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแล นักเรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น



9  จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน


กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน  การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ  เช่น       การสื่อสาร  การธนาคาร   การบิน  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์  สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่  เช่น  การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา  การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน  สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล  สืบค้นข้อมูล  ฟังเพลง  รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน                       การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย  เช่น  การใช้โทรศัพท์ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็น คลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง  ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่น สัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศไปยังสถานีแม่ข่ายหรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญ ณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง  ดังนั้นเครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไปจะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่น เสียงที่เราพูดคุยกัน  และในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นที่ สาม หรือ 3G ส่งสัญญาณเสียงและภาพพร้อมกัน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อม ๆ กัน

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ให้ศึกษาระบบการสอนมา1วิชาและอธิบายมาพอเข้าใจแบบหลักIPO

วิชาสื่อและการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

Input
วัตถุประสงค์ในการสอน
แผนการสอน

Process
การสอนการประดิษฐ์ของเล่น
การจัดทำสื่อการเรียนรู้ให้เด็ก

Out Put
เด็กได้ของเล่นไว้เล่น
ได้ความรู้จากสื่อการเรียนการสอน

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าsytemvหรือไม่

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าsytemvหรือไม่
 เป็น System เพราะ
         I (Input)
1. หลังจากที่ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คือประมาณ 10 เดือนในการตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจาก
-อายุ          
-ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย 
- และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน 
อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ

2.ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย

3.สำหรับน้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส

                                                             P (Process)
1. การต้มน้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)

2. การเคี่ยวน้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)

3. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

4. การอบ ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer  เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย

5.การทำความสะอาดและฟอกสี น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)

                                                              O (Output)
สิ่งที่ได้คือ
1. น้ำตาลทราย
2. กากน้ำตาล



03/07/2013
http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html       

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สมาร์ทโฟน ( Smart Phone )คือ
              Smart Phone คือโทรศัพท์ที่มีความสามารถมากกว่าการโทรออกและรับสาย ด้วยความที่ Smart Phone มีระบบปฏิบัติการอยู่ภายใน ทำให้มันสามารถทำงานได้ในลักษณะเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเราซื้อ SmartPhoneสิ่งที่เราจะได้มาพร้อมกับเครื่องก็คือ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ  เช่น Android , iOS, Windows mobile เวอร์ชั่นต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องโทรศัพท์จำนวนหนึ่ง โปรแกรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่า "แอ็พ" โดยมีทั้งแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบที่ต้องเสียสตางค์ซื้อ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่กับ Smart Phone ก็คือ Internet ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายค่าย และมี Internetความเร็วต่าง ๆ ให้ได้เลือกใช้งาน เช่น Wifi, EDGE/GPRS, 3G เป็นต้น หากคุณกำลังมองหาโทรศัพท์ตัวใหม่ แนะนำให้เลือกซื้อโทรศัพท์ที่เป็น Smart Phone แล้วคุณจะรู้ว่า การใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ง่ายขึ้นมาก

Smart Phone ทำอะไรได้บ้าง?
        หากคุณยังไม่ได้เป็นเจ้าของ Smart Phone มักจะเกิดคำถามนี้อยู่ในใจเสมอว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง  โดยปัจจุัยพื้นฐานแล้วสามารถเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างแน่นอนโดยโปรแกรม Web Browser ที่อาจจะติดตั้งมาพร้อมกับตัวเครื่อง หรือ Downloadมาติดตั้งเพิ่มเติมก็ได้ นอกเหนื่อจากเชื่อมต่อ Internet แล้วลูกเล่นอื่น ๆ หรือ Application ที่น่าสนใจเช่น ปฏิทิน, เครื่องคิดเลข, สมุดบันทึก, นาฬิกา, แผนที่, กล้องถ่ายรูป, อีเมลล์, วิทยุ เป็นต้น และเมื่อคุณเชื่อมต่อกับ Internet คุณสามารถ Download Application มาติดตั้งเพิ่มเติมได้ตามความต้องการของคุณ ซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้มค่าได้อย่างมากที่สุด ลองคิดดูครับหากคุณติดตั้ง Application ที่มีประโยชน์ประมาณ 50 App เท่ากับว่าโทรศัพท์มือถือของคุณมีความสามารถเพิ่มขึ้นถึง 50 อย่างเลยทีเดียว

Android คืออะไร
       แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์  จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยGoogle และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางGoogleได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีโทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication


Cyber bullying    หมายถึงอะไร
             Cyber bullying คือการรังแกระหว่างเด็กด้วยกันผ่านสื่อไซเบอร์ อันได้แก่ อินเตอร์เนตและโทรศัพท์มือถือ รูปแบบการรังแกประเภทนี้มีตั้งแต่การนินทาด่าทอ การส่งต่อข้อมูลที่เป็นความลับของคนอื่นโดยมีเจตนาให้บุคคลนั้นได้รับความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงการใส่ร้ายให้อีกฝ่ายเสื่อมเสีย เช่น กล่าวหาว่าเป็นโสเภณีหรือเป็นเกย์ ผ่านการส่งต่อทางอีเมล์ โดยฝ่ายที่เป็นเหยื่อในการกล่าวหา จะไม่สามารถรู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ
งานสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyber bullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ
ความรุนแรงของการทำร้ายกันผ่านโลกไซเบอร์ ที่พบเห็นในเมืองไทย มีมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น เด็กที่เป็นเหยื่อต้องลาออกจากโรงเรียน อยู่ในภาวะเครียด นอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล แต่ในประเทศญี่ปุ่น วงจรนี้รุนแรงถึงขั้นเด็กฆ่าตัวตายและฆ่าเพื่อนที่คิดว่าเป็นผู้กระทำ
โดยช่วงเวลาที่เด็กไทยมักอยู่ในวงจร Cyber bullying คือช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตและทำการบ้าน แนวโน้มของการใช้ความรุนแรงลักษณะนี้ จะเกาะกินพฤติกรรมของลูกและจะมีเพิ่มมากขึ้น หากเด็กๆ ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และขาดการแนะนำหรือช่วยกันเลือกใช้แต่ด้านที่มีประโยชน์ จากจอคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต